วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คำถามเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

1.     การทำลายล้าง การสร้าง และคุ้มครองโลกกับจักรวาลเป็นบทบาทของเทพองค์ใดในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
       (A-net2549)
1. พระพรหม       2. พระศิวะ                           3.  พระนารายณ์                  4. พระตรีมูรติ
เฉลย 4. พระตรีมูรติ

2.    ข้อใดไม่ตรงกับปรมาตมัน
1. พรหมัน                            2. โมกษะ                             3.  ชีวาตมัน                         4. วิญญาณสากล
เฉลย  2. โมกษะ

3.     คัมภีร์พระเวทใดเก่าแก่ที่สุด (O-net2550)
1. ฤคเวท                               2. ยชุรเวท                             3.  สามเวท                           4. อถรรพเวท
เฉลย 1. ฤคเวท

4.   ศาสนาพราหณ์ช่วงที่เปลี่ยนเป็นเอกเทวนิยมนับถือสิ่งใดเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด (O-net2552)
1. โมกษะ                             2. พระเวท                            3.  พรหมัน                          4. ตรีมูรติ
เฉลย 3.  พรหมัน

5.   คัมภีร์อุปนิษัท มีสาระสำคัญเรื่องใด (O-net2552)
1.  คู่มือการทำพิธีบูชายัญ                                                                 2.   ปรัชญาว่าด้วยวิญาณสากล
3.  บทเพลงสวดสรรเสริญเทพเจ้า                                   4.    คู่มือการประกอบพิธีกรรมและบูชาของพราหณ์
เฉลย 2.   ปรัชญาว่าด้วยวิญาณสากล

6.      ข้อใดไม่เกิดขึ้นในวิวัฒนาการของศาสนาฮินดู
1. เปลี่ยนจากเชื่อในเทพเจ้าหลายองค์มาเป็นสิ่งสมบูรณ์สูงสุดที่มีหนึ่งเดียว
2. เปลี่ยนจากเชื่อว่าชีวิตเป็นไปตามการดลบันดาลของเทพเจ้ามาเชื่อในกรรมจากชาติปางก่อน
3. เปลี่ยนจากเชื่อว่าจิตทั้งหลายเกิดขึ้นมาอย่างอิสระไม่เกี่ยวข้องกัน มาเชื่อว่าจิตทั้งหลายเกิดจาก จิตใหญ่ดวงเดียว
4. เปลี่ยนจากเชื่อในความเป็นอาตมันของจิต มาเชื่อในความเป็นอนัตตาของจิต
เฉลย 4. เปลี่ยนจากเชื่อในความเป็นอาตมันของจิต มาเชื่อในความเป็นอนัตตาของจิต

7.       ข้อใดกล่าวถึงหลักธรรมที่สำคัญและจุดหมายปลายทางของศาสนาพุทธ ฮินดู คริสต์ และอิสลาม          ไม่ถูกต้อง
1.             อริยสัจ  4 – นิพพาน
2.             หลักปุรุสารถะและอาศรม 4 – ไวษณพ
3.             บัญญัติ 10 ประการและหลักความรัก – อาณาจักรพระเจ้า
4.             หลักศรัทธาและหลักปฏิบัติ – พระอัลเลาะห์
เฉลย 2. หลักปุรุสารถะและอาศรม 4 – ไวษณพ

8 .       หลักธรรมที่สอดคล้องกันเด่นชัดที่สุดของศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์ – ฮินดู ได้แก่ข้อใด
1.             ความเอื้อเฟื้อ                                       2.  ความสันโดษ
                3.    ความรัก                                        4.  ความกตัญญูรู้คุณ
เฉลย 3.    ความรัก

9.        ข้อใดไม่ตรงกับคำสอนของศาสนาพราหมณ์
1.             การเอาใจใส่เรียนหนังสือเมื่ออยู่ในวัยร่ำเรียน
2.             การแต่งงานมีครอบครัวหลังจากผ่านวัยศึกษาเล่าเรียนแล้ว
3.             การมีบุตรเมื่อมีฐานะพร้อม
4.             การสละบ้านเรือนออกบวชเมื่อแก่ชรา
เฉลย 3. การมีบุตรเมื่อมีฐานะพร้อม

10.      ข้อใดคือความเชื่อในศาสนาคริสต์ที่ต่างจากศาสนาพราหมณ์
             1. มนุษย์เกิดเพียงชาติเดียว                                              2.  มนุษย์เกิดจากการสร้างของพระเจ้า
3.    ผู้เคารพพระเจ้าคือผู้ทำความดี                                 4.  ผู้ทำความดีพระเจ้าย่อมมองเห็น
เฉลย 1. มนุษย์เกิดเพียงชาติเดียว   

11.      โมกษะในศาสนาฮินดูหมายถึงอะไร
              1. การที่จิตหลุดพ้นจากกิเลส                                         2.  ความหลุดพ้นจากชีวิตที่เป็นทุกข์ในโลกนี้
3.    การได้เกิดในสวรรค์อันเป็นบรมสุข                       4. วิญญาณบริสุทธิ์ไม่เวียนว่ายตายเกิด
เฉลย 4. วิญญาณบริสุทธิ์ไม่เวียนว่ายตายเกิด

12.        ศาสนาฮินดู – พุทธ – คริสต์ มีความคล้ายคลึงกันมากทีสุดคือข้อใด
1. ความหลุดพ้น                                  2.  ความเมตตา
3.     ความเสียสละเพื่อภพหน้า                      4.  การยอมรับอำนาจเหนือธรรมชาติ
เฉลย 2.  ความเมตตา

13.       ตามหลักศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อะไรเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิต
1.  อาตมัน                                                            2.  ปรมาตมัน
3.     โมกษะ                                                        4.  สันยาสี
เฉลย 3. โมกษะ

14.     คำสอนเรื่อง “อาศรม 4” สำคัญอย่างไร
1.             ทำให้ชีวิตนี้มีคุณค่าที่แท้จริง
2.             ทำให้รู้ว่าชีวิตมีหน้าที่อย่างไรบ้าง
3.             ทำให้เชื่อว่าโมกษะเป็นเป้าหมายของชีวิต
4.             ทำให้วิถีชีวิตดำเนินตามธรรมชาติอย่างดีที่สุด
เฉลย 2.ทำให้รู้ว่าชีวิตมีหน้าที่อย่างไรบ้าง

15.     มหากาพย์เรื่องใดของศาสนาพราหมณ์ –ฮินดู มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยมากที่สุด
1. มหาภารตะ                                                      2.  คัมภีร์พระมนู
3.    รามายณะ                                                     4.  คัมภีร์ปุราณะ
เฉลย 3.    รามายณะ         

16.    การบรรลุโมกษะของศาสนาฮินดูคืออะไร
1.  การได้กลับไปรวมเป็นหนึ่งกับพระผู้เป็นเจ้า   2. ความหลุดพ้นจากทุกข์
             3     การมีชีวิตเป็นนิรันดร์ในสวรรค์                        4.ประสบการณ์ทางจิตซึ่งเป็นผลจากการภาวนา
เฉลย 1.  การได้กลับไปรวมเป็นหนึ่งกับพระผู้เป็นเจ้า  

17.      ความเชื่อของคนไทยในเรื่องใดไม่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
1.             การถือฤกษ์งามยามดี การถือศีลถือวัน
2.             ความขลังและศักดิ์สิทธิ์ของเวทมนต์คาถา
3.             ความเป็นศิริมงคลชึ้นอยู่กับผู้กระทำ
4.             การโคจรของดวงดาวมีอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์
เฉลย 3.ความเป็นศิริมงคลชึ้นอยู่กับผู้กระทำ

18.     การชุมนุมประท้วงโดยสงบ ตรงกับหลักธรรมในศาสนาฮินดูในข้อใด
1. หลักอาศรม 4                                  2. หลักวรรณะ 4
3. หลักอหิงสา                                     4. หลักชญานโยคะ
เฉลย 3. หลักอหิงสา         

19.       ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์-ฮินดู มีความเชื่อที่สอดคล้องกันในเรื่องใดมากที่สุด
1. เรื่องวันสิ้นโลก                               2. พรหมลิขิต
3. เรื่องพระเจ้าสร้างโลก                   4. เรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้าและเทวดา
เฉลย 4. เรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้าและเทวดา

20.     เพราะเหตุใดเผ่าอารยันในพระเวทจึงยกย่องธรรมชาติว่าเป็นเทพเจ้า
1.             เพราะเชื่อว่าธรรมชาติมีความลี้ลับซับซ้อน
2.             เพราะเชื่อว่าธรรมชาติมีวิญญาณเช่นเดียวกับมนุษย์
3.             เพราะเชื่อว่าธรรมชาติมีพลังอำนาจจึงเกิดความหวาดกลัว
4.             เพราะเชื่อว่าธรรมชาติให้คุณและโทษแก่ผู้ที่นับถือได้
เฉลย 3.เพราะเชื่อว่าธรรมชาติมีพลังอำนาจจึงเกิดความหวาดกลัว

21.      เรื่องใดที่ศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู มีความเชื่อร่วมกัน
1.    อาตมัน                                                         2.  พรหมลิขิต
3.     สังสารวัฏ                                                   4.  การกลับชาติมาเกิด
เฉลย 3.     สังสารวัฏ        

22.      ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม และฮินดู มีจุดมุ่งหมายในการสอนที่สอดคล้องกันมากที่สุดในข้อใด
1. สอนให้เป็นคนซื่อสัตย์                                 2. สอนให้เป็นคนเสียสละ
3. สอนให้มีความรักต่อกัน                               4. สอนให้เป็นคนรู้จักให้อภัย
เฉลย 3. สอนให้มีความรักต่อกัน

วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วันปีใหม่

ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายนการกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก
การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์
ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย
กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น
 

วันคริสต์มาส

คำว่า คริสต์มาส ภาษาอังกฤษเขียนว่า Christmas ดังนั้นอย่าลืม “ต์” อยู่ที่คำว่า คริสต์ (Christ) ไม่ใช่คำว่า “มาส” (Mas) Christmas มาจากภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า โดยพบคำนี้ครั้งแรกในเอกสารโบราณในปี ค.ศ.1038 ภายหลังแปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas ประวัติความเป็นมาของวันคริต์มาส ซึ่งเป็นวันเกิดของพระเยซูนั้น ตามหลักฐานในพระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซ่าร์ ออกัสตัส แห่งโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็ขานรับนโยบาย อย่างไรก็ตามในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร ด้านนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยเทพ โดยตั้งแต่ปีค.ศ.274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปีค.ศ.64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปีค.ศ.330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย สำหรับองค์ประกอบในงานฉลองวันคริสต์มาสมีความเป็นมาเช่นกัน เริ่มที่คำอวยพรว่า Merry Christmas สุขสันต์วันคริสต์มาส คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส ต่อมาคือ “เพลง” ที่ใช้เฉลิมฉลองทั้งจังหวะช้าและจังหวะสนุกสนาน ส่วนใหญ่แต่งในยุคพระราชินีวิกตอเรียแห่งอังกฤษ (ค.ศ.1840-1900) ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วโลกโดยแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย สำหรับ “ซานตาคลอส” เซนต์นิโคลัสแห่งเมืองมีรา สมัยศตวรรษที่ 4 ได้รับการขนานนามให้เป็นซานตาคลอสคนแรก เพราะวันหนึ่งท่านปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านของเด็กหญิงยากจนคนหนึ่งแล้วทิ้งถุงเงินลงไปทางปล่องไฟ บังเอิญถุงเงินหล่นไปทางถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้ข้างเตาผิงพอดี ปิดท้ายที่ต้นคริสต์มาส หรือต้นสนที่นำมาประดับประดาด้วยดวงไฟหลากสีสัน ต้องย้อนไปศตวรรษที่ 8 เมื่อเซนต์บอนิเฟส มิชชันนารีชาวอังกฤษที่เดินทางไปประกาศเรื่องพระเจ้าในเยอรมนี ได้ช่วยเด็กที่กำลังจะถูกฆ่าเป็นเครื่องสังเวยบูชาที่ใต้ต้นโอ๊ก โดยเมื่อโค่นต้นโอ๊กทิ้งก็ได้พบต้นสนเล็กๆ ต้นหนึ่งขึ้นอยู่โคนต้นโอ๊ก ท่านจึงขุดให้คนที่ร่วมพิธีกรรมเหล่านั้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิต และตั้งชื่อว่า ต้นกุมารพระคริสต์ ต่อมามาร์ติน ลูเธอร์ ผู้นำคริสตจักรชาวเยอรมัน ตัดต้นสนไปตั้งในบ้านในเดือนธันวาคม ปีค.ศ.1540 หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 19 ต้นคริสต์มาสจึงเริ่มแพร่ไปสู่ประเทศอังกฤษและทั่วโลก
คริสต์มาส คือการฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้า เราเฉลิมฉลองกันในวันที่ 25 ธันวาคม คำว่า คริสต์มาส เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ Christmas ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า เพราะการร่วมพิธีมิสซา เป็นประเพณี สำคัญที่สุด ที่ชาวคริสต์ถือปฎิบัติกันในวันคริสต์มาส คำว่า Christes Maesse พบครั้งแรกในเอกสาร โบราณ เป็นภาษาอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1038 และคำนี้ก็แปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas คำทักทายที่เราได้ฟังบ่อย ๆ ในเทศกาลนี้คือ Merry Christmas คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ เพราะฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพร คนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ